โซเชียลมีเดียสำคัญอย่างไร เปิดสถิติ! คนไทยใช้ ‘โซเชียลมีเดีย’ อันดับ 1 ของโลก
คุณคงจะทราบดีอยู่แล้วว่า โซเชียลมีเดียเป็นสิ่งสำคัญที่คุณและธุรกิจของคุณควรจะต้องทำ คนที่ยังไม่ได้เริ่มทำ เราขอแนะนำให้ลงมือทำทันที ส่วนคนที่เริ่มทำแล้ว แต่ยังไม่ได้จริงจัง เราแนะนำให้จริงจังกับโซเชียลมีเดียและเริ่มลงทุนลงแรงกับช่องทางการสื่อสารนี้มากขึ้น เพราะใครๆ ก็ใช้โซเชียลมีเดีย ไม่ใช่เพื่อสันทนาการอย่างเดียว แต่เพื่อการทำรายได้ทั้งเชิงบุคค และธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่คนไทยเราที่ติดอันดับใช้ โซเชียล มีเดียมากเป็นอันดับ 1 ของโลก นี่เราไม่ได้พูดเองนะคะ แต่กรุงเทพธุรกิจ (www.bangkokbiznews.com) ได้รายงานสถิติการใช้โซเชียลมีเดียเอาไว้ ในดังนี้ค่ะ
ผลสำรวจจาก Global Digital Report 2021 ของ We Are Social และ Hootsuite แพลตฟอร์มบริหารจัดการสื่อสังคมออนไลน์ ได้ออกมาเปิดเผยถึงสถิติตัวเลขล่าสุดของผู้ใช้โซเชียลที่พบว่า คนไทยใช้โซเชียลมากที่สุดในโลก!
1. ปีนี้พบการใช้ “โซเชียลมีเดีย” เพิ่มขึ้น 500 ล้านคน
Global Digital Report 2021 รายงานว่าผู้คนใช้งานโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้นมากกว่า 500 ล้านคนในเวลาเพียง 1 ปี ทำให้ปัจจุบันมีผู้ใช้ Social Media จำนวนมากถึง 4.48 พันล้านคนทั่วโลก หรือมากกว่าครึ่งของประชากรทั้งหมดของโลก
2. คนไทยใช้ “โซเชียลมีเดีย” มากเป็นอันดับ 1 ของโลก
สำหรับรายงานพฤติกรรมผู้บริโภคด้านสื่อสังคมออนไลน์ในปี 2021 ของคนไทย We Are Social รายงานว่า คนไทยใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางหลักในการอัพเดทข่าวสารและได้อันดับ 1 ของโลก คิดเป็น 78% ของผู้ใช้งานทั้งหมด
3. สอดคล้องกับสถิติ จากกระทรวงดิจิทัลฯ
ข้อมูลผลสำรวจข้างต้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงลึกการใช้โซเชียลมีเดียของคนไทย จากศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ที่รายงานว่า สถิติย้อนไปในช่วงเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา (1 ตุลาคม 2563 – 30 มิถุนายน 2564) พบว่า มีผู้โพสต์ข่าวปลอมจำนวน 587,039 คน, มีผู้แชร์ข่าวปลอมจำนวน 20,294,635 คน โดยกลุ่มที่มีพฤติกรรมดังกล่าวมากกว่า 90% อยู่ในช่วงอายุ 18-34 ปี ซึ่งรวบรวมจากการรับแจ้งเบาะแส และติดตามการสนทนาบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับข่าวปลอม และมีข้อความข่าวที่ต้องคัดกรองทั้งหมด 145,515,605 ข้อความ
4. การเสพสื่อโซเชียลมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะ FOMO
จากผลสำรวจข้างต้นที่ระบุว่า คนไทยใช้โซเชียลมีเดียเป็นอันดับ 1 ของโลกนั้น ทำให้คนไทยส่วนใหญ่อาจมีพฤติกรรมที่เรียกว่า “Fear Of Missing Out” (FOMO) หรือ “โรคกลัวตกระแส” เป็นการหวาดระแวงว่าตัวเองจะพลาดอะไรไป ไม่ทันกระแสเหมือนคนอื่น ชอบอัพเดททุกความเคลื่อนไหว ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อเชื่อมต่อทางสังคม การเสพติดโซเชียลมีเดียมากเกินไปจนเกิดอาการ FOMO นี้ อาจส่งผลกระทบกับร่างกาย จิตใจ และความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้
5. สัญญาณบ่งชี้อาการ Fear Of Missing Out (FOMO)
สำหรับพฤติกรรมที่บ่งชี้ว่าคุณอาจเข้าข่ายมีอาการ FOMO ได้แก่
- อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิดเมื่อไม่ได้เล่นเน็ต
- ใช้มือถือเกิน 6 ชั่วโมงในแต่ละวัน
- เช็กโซเชียลมีเดียเกือบทุกเวลา
- กลัวตกเทรนด์ รู้ข่าวช้ากว่าเพื่อน
- รู้สึกกังวลเวลาเห็นคอมเม้นต์ตำหนิ
- รู้สึกด้อยกว่าคนอื่นในโลกออนไลน์ เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไปกินอาหารร้านหรู เที่ยวต่างประเทศ เป็นต้น
6. วิธีแก้ไขภาวะ FOMO ลดการเสพติดโซเชียล
- คอยสังเกตและจดบันทึกเวลาที่เล่นโซเชียลมีเดียในแต่ละวัน เช่น โพสต์รูป ข้อความ เล่นเกมส์ เป็นต้น เพื่อให้รู้ถึงความรุนแรงของพฤติกรรมเสพติดโซเชียล
- ถามคนรอบตัวว่าเราติดโซเชียลมีเดียหรือไม่? และคิดว่าความสัมพันธ์จะดีขึ้นหรือไม่? หากลดเวลาเล่นโซเชียลให้น้อยลง
- กำหนดเวลาใช้งานโซเชียลมีเดีย โดยปกติการเล่นโซเชียล 60-90 นาทีต่อวันก็เพียงพอแล้ว สำหรับอ่านข่าวหรือโพสต์อัพเดทต่างๆ (เล่นช่วงเช้า 30 นาที และเล่นช่วงค่ำอีก 60 นาที)
- ให้คนใกล้ชิดคอยเตือนให้หยุดเล่นโซเชียล เมื่อครบเวลากำหนด ต้องหยุดทันทีโดยไม่มีข้อแม้
- กำหนดวันที่ไม่เล่นโซเชียลมีเดีย หากมีเรื่องเร่งด่วนสามารถติดต่อผ่านการโทรศัพท์ได้
- ปิดระบบแจ้งเตือนเพราะจะดึงดูดให้เรากลับไปใช้โซเชียลอีก
- กำหนดให้ห้องนอนเป็นพื้นที่ NO Mobile
- อยู่ให้ห่างมือถือ/แท็บเล็ต และเพิ่มกิจกรรมอื่นๆ แทน เช่น ออกกาลังกาย ดูแลสุขภาพ หาช่วงเวลาปิดมือถือ แล้วหางานอดิเรกทำ เช่น ไปเที่ยวหรือใช้เวลากับเพื่อนๆ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากเริ่มต้นทำโซเชียลมีเดีย แต่ยังไม่แน่ใจว่าต้องทำอย่างไรถึงจะโดนใจ ลองคุยกับพวกเราดูได้นะคะ