KOL (Key Opinion Leader) คืออะไร ต่างจากอินฟลูเอนเซอร์อย่างไร

KOL (Key Opinion Leader) คืออะไร ต่างจากอินฟลูเอนเซอร์อย่างไร จะเริ่มทำการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ได้อย่างไร หลากหลายคำถามที่บล็อกนี้มีคำตอบ

หลายคนสงสัยว่า เราควรจะใช้ KOL (Key Opinion Leader) หรืออินฟลูเอนเซอร์ในการทำการตลาดกันแน่ เพราะต่างคนต่างก็ใช้คำ 2 คำนี้กันตลอดจนไม่รู้ว่า KOL และ Influencer คืออะไรกันแน่ บล็อกนี้จะช่วยให้คุณรู้ถึงความแตกต่างและเลือกใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจของคุณค่ะ โดย Ad Addict ได้ให้ความหมายที่เข้าใจง่ายๆ เอาไว้ว่า

อินฟลูเอนเซอร์ คือ ผู้ถือครองพลังแห่งการสื่อสารบนโลก Social Media

Influencer เป็นคำเรียกที่นักการตลาดใช้นิยามผู้คนที่มีตัวตนในโลก Social Media ที่มีไลฟ์สไตล์ไปจนถึงการทำคอนเทนต์นำเสนอต่างๆ ได้น่าสนใจจนเกิดผู้ติดตามที่ชื่นชอบในสิ่งเหล่านั้นอย่างมหาศาล โดย Influencer นั้นสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทตามจำนวนผู้ติดตาม ซึ่งหมายความว่า Influencer ยิ่งมีผู้ติดตามมากเท่าไหร่ก็จะแสดงถึงอิทธิพลที่มีต่อโลก Social Media ได้มากเท่านั้น พลังของพวกเขาก็คือ เมื่อมีการกระทำหรือการนำเสนอคอนเทนต์แบบไหนก็ตามที่น่าสนใจ ผู้ติดตามก็จะมีพฤติกรรมเลียนแบบหรือมีความสนใจตามกลุ่มคนเหล่านั้น หากแบรนด์สื่อสารผ่าน Influencer ก็มีโอกาสสูงที่ผู้ติดตามคนเหล่านั้นจะมองเห็นและสนใจสินค้านี้ตามนั่นเอง

KOL ผู้ถือครองพลังแห่งการสื่อสาร “เฉพาะกลุ่ม”

KOL เป็นตัวย่อมาจากคำว่า Key Opinion Leader ซึ่งหมายถึง “ผู้นำทางความคิด” หรือก็คือกลุ่มคนที่มีความน่าเชื่อถือในเรื่องต่างๆ จนสามารถแนะนำและทำให้ผู้คนสนใจตามไปกับการกระทำและความคิดของพวกเขาได้ KOL นั้นจะมีลักษณะทีคล้ายกับ Influencer เพียงแต่ KOL นั้นจะเป็นผู้นำทางความคิดกับผู้คนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น โดยสิ่งที่สร้างอิทธิพลให้กับ KOL ก็คือกลุ่มคนที่หลงใหลในสิ่งที่ KOL ทำแบบเฉพาะเรื่อง ยกตัวอย่างเช่น Ad Addict เป็นเพจที่ให้ความรู้ในเรื่อง โฆษณา, การตลาด, และความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น

ประเภทของอินฟลูเอนเซอร์

ทั้งนี้ KOL ก็สามารถเป็นอินฟลูเอนเซอร์ได้ด้วยเช่นกัน ตามการแบ่งประเภทของอินฟลูเอนเซอร์ที่แบ่งเอาไว้ตามจำนวนผู้ติดตามที่พวกเขามี (แม้ว่าคำจำกัดความจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด แต่มุมมองในปัจจุบันก็คือขณะนี้มีผู้มีอิทธิพล 5 ระดับ)

  • Nano-influencers มีผู้ติดตาม 1,000 – 10,000 คน
  • Micro-influencers มีผู้ติดตาม 10,000 – 50,000 คน
  • Mid-tier influencers มีผู้ติดตาม 50,000 – 500,000 คน
  • Macro-influencers มีผู้ติดตาม 500,000 – 1,000,000 คน
  • Mega-influencers มีผู้ติดตาม 1,000,000+ คน

แล้วทำไมคุณถึงควรทำการตลาดอินฟลูเอนเซอร์?

มีหลากหลายเหตุผลที่เราควรทำการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ rainmaker ได้สรุปมาให้เราสั้นๆ ดังนี้

  1. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ

แบรนด์มีสิทธิในการเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ได้อย่างตรงกลุ่มหรือตามความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์และสินค้าได้ โดยสามารถนำข้อมูลเชิงประชากรศาสตร์มาช่วยในการอ้างอิงได้ เช่น เพศ อายุ พฤติกรรม หรือความสนใจเป็นต้น การเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายจะได้รับความสนใจมากกว่าอินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก

  1. ได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่า

ต้องยอมรับว่าในตอนนี้อินฟลูเอนเซอร์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อมากกว่าเมื่อก่อน ผู้บริโภคหลายๆ คนเริ่มมีความเชื่อถือแบรนด์น้อยลง โดยอินฟลูเอนเซอร์ไม่จำเป็นต้องเป็นคนดังหรือดาราเท่านั้น แต่หมายถึงคนที่สามารถชัดจูงผู้บริโภคในเรื่องนั้นๆ ได้ ทำให้เขาสามารถไว้วางใจและอินกับมันได้

  1. ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

เราสามารถเลือกใช้ Micro Influencer หลายๆ คนแทนการจ้างพรีเซนเตอร์ดาราดังๆ เพียงคนเดียว ซึ่งแบรนด์ก็จะได้ประโยชน์มากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย เช่น สร้างการรับรู้ได้มากขี้น ช่วยให้คุณเข้าถึงลูกค้าในกลุ่มใหม่ๆ มากกว่าเดิมโดยงบที่จำกัด เป็นต้น

  1. การนำเสนอที่แปลกใหม่

การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ไม่จำเป็นต้องใช้แรงขับเคลื่อนในการนำเสนอมาก เพียงเป็นตัวเองก็พอแล้ว เพราะฉะนั้นแบรนด์ควรให้ความคิดและอิสระในการนำเสนอคอนเทนต์นั้นๆ ด้วย อย่าพยายามไปเปลี่ยนเอกลักษณ์หรือตัวตนของพวกเขา

จะติดต่อเพื่อใช้งาน KOL และ Influencer ได้อย่างไร

มีหลากหลายวิธีมากเพื่อให้คุณสามารถติดต่อกับ KOL และอินฟลูเอนเซอร์ได้ ตั้งแต่ติดต่อเองเข้าไปโดยตรง ติดต่อผ่าน Facebook Group ติดต่อผ่านแอปพลิเคชั่น หรือจ้างเอเจนซี่มาทำการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ให้ ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป ซึ่งเราจะมาเล่าถึงรายละเอียดต่างๆ ให้ฟังในโอกาสต่อไปค่ะ

สิ่งที่แบรนด์ต้องทำก่อนเริ่มทำการตลาดอินฟลูเอนเซอร์

เราเริ่มเข้าใจแล้วว่า KOL และอินฟลูเอนเซอร์ต่างกันอย่างไร แบรนด์ของคุณควรเหมาะกับการใช้ KOL หรืออินฟลูเอนเซอร์มากกว่ากัน แต่ช้าก่อนค่ะ อย่าเพิ่งลงมือจ้าง KOL และอินฟลูเอนเซอร์แบบทันทีทันใด ถ้าคุณยังไม่ได้ตั้งเป้าหมายให้แคมเปณเสียก่อน เพราะเป้าหมายที่อยากได้จะส่งผลอย่างมากต่อประเภทของบุคคลที่คุณเลือกทำงานด้วย

ยกตัวอย่างเช่น หากแบรนด์คุณเป็นแบรนด์หรูระดับโลก คุณตั้งเป้าหมายว่าจะส่งเสริมการรับรู้และมีงบประมาณเหลือเฟือ คุณสามารถเลือกใช้ KOL หรือดาราคนดังระดับสูงได้เลย เช่น ลิซ่า BlackPink หรือ BTS เพียงแต่ชื่อก็สามารถการันตีว่าสินค้าที่พวกเขาเหล่านี้โปรโมตหรือใส่ลง Instagram เป็นอันต้อง Sold out กันทั้งโลกอย่างแน่นอน

ในทางกลับกันหากคุณตั้งเป้าหมายว่าจะใช้การตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์มาช่วยในการขายเสื้อผ้าเด็กให้กับคุณแม่มือใหม่ การใช้ซุปเปอร์สตาร์คนใดคนหนึ่งกลับกลายเป็นการลงทุนที่แพงอย่างไม่น่าเชื่อทันทีเมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่คุณน่าจะได้รับ ในกรณนี้เราแนะนำให้คุณใช้งบประมาณนั้นไปกับไมโครอินฟลูเอนเซอร์นับร้อยหรือหลายพันแทนการใช้ซุปเปอร์สตาร์ค่ะ ในทำนองเดียวกัน หากคุณเป็นแอปพลิเคชั่นที่ช่วยวางแผนการเงิน ต้องการเพิ่มการรับรู้และน่าเชื่อถือในเวลาเดียวกัน คุณอาจติดต่อกับ taxbugnoms หรือน้าเน็คในช่วงเรื่องเงินต้องรู้ก็ได้ค่ะ

บริการการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ของเรา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *