Branding a Superhero: ถ้าซุปเปอร์ฮีโร่ต้องทำการตลาดในโลกจริง

ซุปเปอร์ฮีโร่ที่เรารู้จักกันดีไม่ได้เป็นแค่ตัวละครในหนังหรือคอมมิก แต่ในโลกของการตลาด พวกเขาคือ “แบรนด์” ที่ต้องถูกสร้างและจัดการอย่างมีกลยุทธ์! ถ้าซูเปอร์ฮีโร่ต้องทำแบรนด์ดิ้งให้ปังในยุคนี้ จะใช้เทคนิคอะไรได้บ้าง? มาดูกันผ่านมุมมองของ The Boys, Spider-Man, Deadpool และ Dr. Strange ว่าพวกเขาจะทำการตลาดแบบไหนได้บ้างในโลกของธุรกิจ

รับชม PaM++ Brand Talk EP.1 | Branding a Superhero! ได้ที่นี่

  1. The Boys & การตลาดซูเปอร์ฮีโร่แบบจัดฉาก

ในซีรีส์ The Boys ฮีโร่ไม่ได้เป็นเพียงผู้กอบกู้โลก แต่คือ ผลิตภัณฑ์ ที่ถูกสร้างภาพลักษณ์ขึ้นมา บริษัท Vought จัดการ PR ของฮีโร่แต่ละคนอย่างเข้มข้น เช่น เมื่อ Homelander ทำพลาด PR ทีมต้องรีบจัดการข่าว เปลี่ยนกระแส และใช้เทคนิค “ข่าวใหม่ลบข่าวเก่า” รวมถึงจับคู่กับ Stormfront เพื่อสร้างความนิยมใหม่

ข้อสรุปจาก The Boys: ในโลกที่ซุปเปอร์กลายเป็นแบรนด์ “การบริหารภาพลักษณ์” สำคัญพอ ๆ กับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ตัวตนของแบรนด์ต้องถูกจัดวางให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย

  1. Spider-Man & การสร้างแบรนด์ที่เข้าถึงทุกคน

Spider-Man เป็นฮีโร่ที่เข้าถึงง่าย คนรักเขาเพราะเป็น “ฮีโร่ข้างบ้าน” ดังนั้นถ้าจะสร้างแบรนด์ให้ Spidey ในยุคนี้ ต้องเน้นแนวคิดที่เชื่อมโยงกับคนทั่วไปและไลฟ์สไตล์ปัจจุบัน วิธีการสร้างแบรนด์ของ Spider-Man สามารถมีได้หลายมิติ เช่น:

  • คอลแลปกับศิลปินสตรีทอาร์ต– เพิ่มความเป็นไอคอนของเมือง ทำให้ Spider-Man ดูเป็นฮีโร่ที่อยู่ใกล้ตัวจริง ๆ
  • กล่องสุ่ม Spider-Man – การตลาดแบบ Mystery Box ที่ตอบโจทย์พฤติกรรม FOMO ของผู้บริโภคในยุคนี้ สร้างความลุ้นให้คนอยากซื้อ อยากแชร์ โดยเฉพาะเหล่าเด็ก Gen Z เพื่อให้ Spiderman ยังเป็นฮีโร่ที่ครองใจทุก Gen
  • แคมเปญไวรัลในโซเชียล– ให้สตันท์แมนแต่งตัวเป็น Spidey ออกไปช่วยเหลือผู้คนในเมือง และให้คนถ่ายแชร์ลงโซเชียล ทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์แข็งแกร่งขึ้น

ข้อสรุปจาก Spider-Man: การสร้างแบรนด์ที่ดีไม่ใช่แค่เรื่องของสินค้า แต่เป็นเรื่องของการทำให้ผู้คนรู้สึกเชื่อมโยงและอยากมีส่วนร่วมกับแบรนด์มากที่สุด

  1. Deadpool & การตลาดแบบ “ขยี้ตัวตน” ที่คนจดจำ

Deadpool ไม่ต้องการแบรนด์ดิ้งที่ดูดี ตามกฏระเบียบ เพราะตัวเขาเองคือ “ความปั่นความป่วนในตัวเอง” ถ้า Deadpool จะทำการตลาดอะไรสักอย่าง… มันต้อง ล้อเลียนทุกกฎของการตลาด เช่น

  • การเปิดตัวน้ำหอมโดยมี Deadpool เป็น presenter  ก็จะคอนเซ็ปต์แหวกแนวแบบนี้: โฆษณาเป็นแนวภาพสโลว์โมชั่นสุดหรู แล้ว Deadpool เดินเข้ามากลางเฟรมพูดว่า “เอาจริงเหรอ? ก็หอมดี แต่นี่ไม่ใช่แนวหนังกระผมนะคร้าบบบ”
  • Hijack โฆษณาแบรนด์อื่น– โผล่มากลางโฆษณาสุดหรูของแบรนด์อื่นแล้วแทรกมุกตลกตัวเองแล้วเดินจากไป
  • แคมเปญโซเชียลสุดกวน– เช่น ตั้งโปรไฟล์ Tinder/Bumble ของ Deadpool ที่เต็มไปด้วยมุกปั่นแล้วไปจีบสาวในสไตล์ deadpool

ข้อสรุปจาก Deadpool: สินค้า บางอย่าง มีแบรนด์ดิ้งที่ชัดเจน และน่าจดจำของตัวเองอยู่แล้ว อย่าพยายามไปสร้างอะไรใหม่ แต่ขยี้มันออกมาดึงมันออกมา แล้วมาสร้าง ปรากฏการณ์ อันน่าจดจำตามสไตล์ของ สินค้าหรือคนเหล่านั้นดีกว่า

  1. Dr. Strange & การสร้างแบรนด์ที่ผสมผสานระหว่างความเก่งกาจและความซึน

Dr. Strange ไม่ได้เป็นแค่หมอเวทมนตร์ที่ทรงพลัง แต่เขายังเป็นตัวละครที่มีความซับซ้อนในตัวเอง กุ๋ยไม่ได้แค่ปรับภาพลักษณ๊ให้ใหม่ แต่ยังต่อยอดจน Dr. Strange สามารถเปิดแบรนด์เป็นของตัวเองได้

แนวทางแบรนด์ดิ้งของ Dr. Strange:

  • เปลี่ยนภาพลักษณ์จากคนปากร้ายเป็นพระเอกสายซึน สร้างแคมเปญ POV “ปากแข็งแต่ใจดี”– Dr. Strange มักพูดจาเย็นชาแต่กลับช่วยเหลือทุกคนอยู่เสมอ เพื่อช่วยให้แบรนด์ดิ้งของเขาเชื่อมโยงกับอารมณ์คนดูในวงกว้างมากขึ้น
  • คอลแลปกับแบรนด์นาฬิกาหรู– Dr. Strange เป็นตัวละครที่มีความเชื่อมโยงกับนาฬิกา Jaeger-LeCoultre การพาร์เนอร์กับแบรนด์นาฬิกานี้จะช่วยเสริมภาพลักษณ์ในวงการแฟชั่นสายลักชูรี่ทั้งกับแฟนของ Dr. Strange เอง และของแบรนด์ Jaeger-LeCoultre ด้วย
  • การเปิดแบรนด์เป็นของตัวเอง– เริ่มจากเสื้อคลุมของ Dr. Strange ที่เป็นไอเทมประจำตัว ถ้าเขาจะทำแบรนด์แฟชั่นเป็นของตัวเองก็เริ่มต้นจากไอเทมที่ใครๆ ก็นึกถึง แล้วจึงขยายไปยังไอเทมอื่น

ข้อสรุปจาก Dr. Strange: การสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนตัวตนทั้งหมด แต่เลือกปรับให้คนมองเห็นอีกมุมมอง ให้กลายเป็นแบรนด์ดิ้งที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *