อะไรคือกลยุทธ์ โซนิค แบรนด์ดิ้ง

การตลาดผ่านเสียง

ทำไมกลยุทธ์  โซนิค แบรนด์ดิ้ง (Sonic Branding) ยังเป็นมาร์เก็ตติ้งที่กระตุ้นยอดขายได้ในยุคนี้?

พูดเรื่อง แบรนด์ดิ้งกันมาก็หลายรอบวันนี้เรามาพูดเรื่อง โซนิค แบรนด์ดิ้ง  กันดูบ้างมันคืออะไรยังไง

ลองดูบทความจาก www.marketingoops.com  *ขอบคุณรูปภาพอินโฟกราฟฟิคสวยๆ ด้วยนะคะ*

การตลาดในยุคใหม่มักจะมุ่งไปที่ ‘การตลาดผ่านวิดีโอ’ เป็นหลัก เหตุผลก็เพราะว่าพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมเสพคอนเทนต์ที่เป็นทั้งภาพและเสียง ดังนั้นจึงเกิดเป็นความสงสัยขึ้นมาว่า แล้วการตลาดที่ใช้แค่เสียงสำหรับยุคนี้ละ? คำตอบคือยังได้รับความนิยมเหมือนกัน โดยบทความของ MarketingWeek ระบุว่า การตลาดหรือการทำแบรน์ดิ้งด้วยเสียง โซนิค แบรนด์ดิ้ง มีโอกาสเพิ่มยอดขายได้อย่างคาดไม่ถึง

ส่วนหนึ่งที่ทำให้การทำแบรนด์ดิ้งด้วยเสียง หรือที่เรียกว่า โซนิค แบรนด์ดิ้ง (ซึ่งจะเป็นเสียงหรือเพลงที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ) โดยยังได้รับความนิยมแม้ว่าใครๆ ก็พูดว่า Video เป็นสิ่งสำคัญของการตลาดของยุคนี้ แต่เมื่อมาดูที่เทรนด์ของการเสพ podcast ในปัจจุบันที่ยังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการฟังเพลงแบบ music steaming ที่เป็นกิจกรรมหลักของผู้บริโภค ทั้งยังเปิดฟังได้ทุกที่ในเวลาไหนก็ได้ที่ต้องการ

นอกจากนี้ วิวัฒนาการของเทคโนโลยีแบบใหม่ทำให้ผู้บริโภคเริ่มเปิดใจรับสิ่งประดิษฐ์มากมาย เช่น ลำโพงอัจฉริยะ หรืออุปกรณ์เชื่อมต่อประเภทอื่นที่มีอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องขับรถถึงจะฟังวิทยุได้เหมือนในสมัยก่อน

ดังนั้น การตลาดที่ใช้เสียง หรือ โซนิค แบรนด์ดิ้ง จะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น โดยข้อมูลของ MarketingWeek ระบุว่า ฟังก์ชั่นที่เพิ่มเข้ามาใน smart tools ไม่ว่าจะเป็นลำโพง, โทรศัพท์, นาฬิกา ฯลฯ มีส่วนเปลี่ยนพฤติกรรมคนอีกครั้ง โดยพวกเขาจะมีเวลาพิมพ์น้อยลง, ดูน้อยลง แต่จะใช้กับเวลาไปกับ ‘การฟังและการพูด’

โซนิค แบรนด์ดิ้ง (Sonic Branding) จะสำเร็จต้องมี DNA แบรนด์

การใช้เสียงกับแบรนด์ดิ้งไม่ได้หมายถึงว่าเสียงแบบไหนก็ได้ หรือเป็นสปอตโฆษณาเหมือนที่เราได้ยินบ่อยๆ ในคลื่นวิทยุ แต่หมายถึงแบรนด์ต้องใช้ความครีเอทมากกว่านั้น คือ ต้องสร้างเสียงที่เป็น DNA ของแบรนด์ ได้ยินแล้วรู้เลยว่าคือแบรนด์อะไร ทำให้คนฟังได้ยินเสียงนี้บ่อยๆ ซึ่งมันเป็นเหมือนจิตวิทยาการตลาดอย่างหนึ่งสำหรับ Sonic Branding ประมาณว่า “เปิดให้ฟังจนกว่าลูกค้าจะจำเสียงเรา(แบรนด์)ได้” โดยบางทีไม่ต้องมีคำพูด หรือประโยคมัดใจอะไรเลยก็ได้

ยกตัวอย่าง เช่น เวลาที่เราได้ยินเสียง “ตือ ดื้อ ดืดด ~ ตือ ดื้อ ดืดด ~ ตือ ดื่อ ดือ ดื้อ ดือออ” เราทุกคนก็จะรู้เลยว่าเป็นเสียงของไอศครีมวอลล์ เป็นต้น

ทั้งนี้ มีมุมมองของนักการตลาดที่พูดว่า โซนิค แบรนด์ดิ้ง เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กด้วยเช่นกัน และอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการตลาดแบบอื่นด้วย ทั้งได้พูดถึงจิตวิทยาการตลาดที่ใช้เสียงซ้ำๆ (แต่ต้องเป็นเสียงที่มีเอกลักษณ์และเหมาะกับแบรนด์) จะทำให้เกิดการจดจำได้มากขึ้นกว่าการมองเห็น+ภาพ (เพราะใช้ประสาทสัมผัส 2 อย่างพร้อมกัน) ก็ถือว่าน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของธุรจกิจขนาดเล็กที่ยังเริ่มต้นไม่ถูกว่าจะสร้างการรับรู้ และจดจำแบรนด์ได้อย่างไร วิธีนี้อาจเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมก็ได้

บริการที่ปรึกษาการตลาดของเรา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *