การประชาสัมพันธ์ – แบบดั้งเดิม VS แบบดิจิตอล

การประชาสัมพันธ์ – แบบดั้งเดิม VS แบบดิจิตอล

การประชาสัมพันธ์แบบเดิมๆ กำลังจะตาย เดี๋ยวนี้จะทำอะไรก็ต้องเป็นการประชาสัมพันธ์แบบดิจอตอลแล้วล่ะ – คำพูดแบบนี้พวกเราคงเคยได้ยินมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว เราควรจะทำแบบไหนกันแน่ หรือจำเป็นต้องทำทั้งสองอย่างเลยหรือไม่? ใช่ แพมพลัสพลัส เราเชื่อว่าต้องทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไป ทั้งการประชาสัมพันธ์แบบดั้งเดิมและแบบดิจิตอล แต่เราอยากให้คุณลองอ่านสิ่งที่เราจะเล่าต่อไปนี้เสียก่อน อย่าเพิ่งเชื่อคำพูดของเราทันที ก่อนที่เราจะตอบคำถามว่าควรทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไปไหม เรามาดูความแตกต่างระหว่างการประชาสัมพันธ์แบบดั้งเดิมและแบบดิจิทัลกันสียก่อน

ตามที่ Forbes.com อธิบายไว้ การประชาสัมพันธ์แบบดั้งเดิม หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนที่ไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ตเลย เช่น สิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ หรือวิทยุ และมันล้วนเกี่ยวข้องกับการติดต่อและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบรรณาธิการและนักข่าวในสำนักพิมพ์และสื่อมวลชนในแบบดั้งเดิมเป็นอย่างมาก ในขณะที่การประชาสัมพันธ์แบบดิจิทัลไม่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวกับสื่อมวลชน แต่ก็จำเป็นต้องใช้แพลตฟอร์มออนไลน์อื่นๆ เพิ่มเติม เช่น โซเชียลมีเดีย, search, และแอปพลิเคชั่นอื่นๆ เพื่อสนับสนุนในการเล่ารื่อง รวมถึงการใช้อินฟลูเอ็นเซอร์และความร่วมกันกับเจ้าของแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ

ไม่ใช่การยึดติด แต่มันมีเหตุผลที่ควรทำการประชาสัมพันธ์แบบดั้งเดิม

Forbes.com ยังกล่าวไว้ด้วยว่า มันมีเหตุผลนะที่การประชาสัมพันธ์แบบดั้งเดิมกลายเป็นประเพณีที่ยังต้องทำอยู่และจะยังคงดำเนินต่อไป ที่สำคัญแพลตฟอร์มดิจิทัลก็ได้กลายเป็นตัวขับเคลื่อนสื่อแบบดั้งเดิม (สื่อกระแสหลัก) ด้วยเช่นกัน หลายๆ สำนักพิมพ์ลดหรือหยุดการผลิตแบบรูปเล่มแล้วก็จริง แต่พวกเขาก็ยังคงดำเนินธุรกิจและทำได้ดีมากในโลกออนไลน์ ถ้าคุณยังมองไม่เห็นภาพว่าสื่อแบบดั้งเดิมเขาปรับตัวกันอย่างไร เรามีกรณีศึกษาของนิตยสารแพรวมาเล่าให้ฟัง จากการศึกษาเรื่องการปรับตัวของสื่อนิตยสารต่างๆ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 – 2020 โดยนิตยสารแพรวเน้นไปที่การอยู่รอดของนิตยสาร ปรับตัวของบุคลากรเป็นอันดับแรกให้มีความคิดสร้างสรรค์ ได้เนื้อหาที่แตกต่าง ให้โอกาสทีมงานได้เรียนรู้ลองผิดลองถูก นิตยสารอื่นๆ เน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง ในขณะที่แพรวเลือกจับทุกกลุ่ม ขยายคนติดตามให้กว้างขึ้น ปรับเนื้อหาให้น่าสนใจ ทันสมัย ทันโลก รีบจับนกระแสแล้วนำมาทำเป็นคอนเท็นต์ นำเนื้อหาในนิตยสารบางส่วนไปลงบนเว็บไซต์ บางส่วนไปลงบนแพลตฟอร์มออนไลน์แต่ต้องปรับเปลี่ยนข้อความให้เหมาะกับคนบนแฟลตฟอร์มนั้นๆ สิ่งที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดจนเป็นที่จดจำของคนทั้งประเทศต้องยกให้ Celeb Blog บน YouTube ที่ทำร่วมกับคุณสู่ขวัญ จนเกิดเป็นวลีเด็ด “ของมันต้องมี” ที่คนยังคงใช้กันอยู่เรื่อยมา

ดังนั้นเราจึงเชื่อว่าเราไม่จำเป็นต้องเลือกว่าจะทำพีอาร์ทำการประชาสัมพันธ์กับสื่อแบบดั้งเดิมหรือทำการประชาสัมพันธ์แบบดิจิตอล เพราะเรามีศรัทธาในเพื่อนสื่อมวลชนของเรา พวกเขามีวิวัฒนาการ ได้ปรับตัว และได้บูรณาการการประชาสัมพันธ์แบบดั้งเดิมและดิจิทัลเข้าด้วยกันได้อย่างไร้รอยต่อ ดังนั้นไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่ต้องเลือกข้างเลย

แบรนด์ของคุณควรทำประชาสัมพันธ์ (พีอาร์) แล้วหรือยัง?

เราได้พูดคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับวิวัฒนาการของการทำพีอาร์แล้ว แต่ถึงอย่างนั้นก็อย่าลืมเรื่องพื้นฐานอย่างการรีวิวจากผู้ใช้งานจริงกันล่ะ ทำไมน่ะเหรอ? ก็ในโลกปัจจุบันผู้บริโภคมักจะไว้วางใจสารที่สื่อออกมาจากเพื่อนมากกว่าตัวแบรนด์เป็นคนพูดเอง ส่วนการทำประชาสัมพันธ์คือตัวเลือกที่ดีที่สุดอันดับสองในการรีวิวแบบออร์แกนิก ก็คือการสื่อสารผ่านช่องทาง/แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือหรือก็คือสื่อมวลชนนั่นเอง สารต่างๆ เมื่อได้รับการตรวจสอบหรือเผยแพร่โดยสื่อมวลชน (ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์) จะมีความน่าเชื่อถือสูง ข้อความและเรื่องราวของแบรนด์จะดูเป็นกลางมากกว่าและน่าเชื่อถือมากขึ้น

นอกจากนั้นการทำพีอาร์ยังเป็นตัวเลือกที่ไม่ใช่แค่น่าเชื่อถือแต่ยังคุ้มค่ากว่าการโฆษณาแบบตรงไปตรงมาด้วย แล้วยังได้โบนัสเพิ่มเติมนั่นคือการทำประชาสัมพันธ์ออนไลน์จะช่วยให้คนค้นหาคุณเจอบนโลกออนไลน์ได้มากยิ่งขึ้น ช่วยเรื่อง SEO ได้ดี ถึงแม้ว่าลูกค้าจะไม่ได้ค้นหาชื่อแบรนด์ของคุณตรงๆ ก็ตาม แต่พวกเขาก็ยังสามารถเจอแบรนด์ของคุณผ่านเนื้อหาที่ลงไว้ในข่าวประชาสัมพันธ์ได้อยู่ดี สุดท้ายนี้หากคุณสงสัยว่าคุณจะเข้าถึงผู้บริโภคและผู้ที่อาจเป็นลูกค้าของคุณในวงกว้างได้อย่างไร การประชาสัมพันธ์เป็นวิธีการสื่อสารที่ยอดเยี่ยมสามารถเข้าถึงผู้คนนับล้านได้ทันที ทีนี้คุณคิดว่าแบรนด์ของคุณควรทำประชาสัมพันธ์แล้วหรือยัง?

 

ก่อนจะจบบล็อกในวันนี้ (แล้วไปต่อภาค 2 ในสัปดาห์หน้า) เราขอนำคำคมเด็ดๆ จาก PR Society of America มาฝากไว้ให้คิดค่ะ

“Public relations is a strategic communication process that builds mutually beneficial relationships between organizations and their publics.”

“การประชาสัมพันธ์เป็นกระบวนการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ที่ค่อยๆ สร้างความสัมพันธ์ที่เอื้อประโยชน์ต่อกันระหว่างองค์กรและสาธารณชน”

บริการด้านการประชาสัมพันธ์ของเรา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *